พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระขุนไกร กรุวั...
พระขุนไกร กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี (องค์นี้ขึ้นที่อยุธยา หายาก) สภาพสุดคลาสสิค
ขุนไกรเอกลักษณะประการหนึ่งของ พระเครื่องอันหลากหลายพิมพ์ทรง ที่ขุดพบได้ในเมืองสุพรรณบุรี ส่วนมากมีชื่อเสียงเรียกขานพิมพ์ทรงพระเครื่องนั้น ตามชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าๆที่เรียกขานชื่อพิมพ์ทรงพระเครื่องเมื่อครั้งพบพระใหม่ๆ นั้นดูเหมือนจะตั้งชื่อพระเครื่องในจังหวัดสุพรรณบุรีได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว แม้บางครั้งชื่อของพิมพ์ทรงพระ จะนำมาซึ่งความเชื่อความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปบ้าง โดยเฉพาะใน" พระขุนแผน" ที่เชื่อว่ามีพุทธคุณไปในแนวทางเดียวกับ "ขุนแผน" ในวรรณคดี ศิลปของพระขุนไกรน่าจะอยู่ในยุคอยุธยาตอนต้น พอๆกับพระขุนแผนหรืออาจเป็นการสร้างคราวเดียว
กันกับพระขุนแผนก็ได้ คาดว่ามีอายุอยู่ในราว 500 ปี เป็นอย่างสูง ส่วนในรายละเอียด "พระขุนไกร" มีดังนี้ "พระขุนไกร" อาจจะมีขนาดองค์พระที่ค่อนข้างใหญ่บ้าง กล่าวคือมีขนาดกว้างประมาณ 3.4 เซนติเมตรเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา มีความแกร่งและหนึกนุ่ม พุทธลักษณะด้านหน้า เป็นรูปองค์พระพุทธรูปปฏิมากรปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรภายในเส้นมน ซึ่งเป็นเส้นซุ้มรอบองค์พระเครื่อง พระพักตร์องค์พระเรียวยาวลงมารับกับพระศอ(คอ) พระกรรณ(หู) ยาวสอบลงมาอยู่ในระดับพระศอ พระพาหา(แขน) ด้านขวาทอดยาวลงมาอ่อนช้อย จับที่พระชานุ(เข่า) ส่วนพระพาหาซ้าย ทิ้งลงมาแล้วหักศอก วางลงบนพระเพลา(ตัก) พระอังสา(บ่า) ผึ่งผายรับกับพระอุระ ส่วนพระเกศมีลักษณะคล้ายสถูปเจดีย์ ในด้านหลังองค์พระมีลักษณะอูมนูนเล็กน้อย พระขุนไกร วัดพระรูป สามารถแงพิมพ์ทรงได้ 2 แบบ คือ แบบหน้าเล็ก และแบบหน้าใหญ่ โดยมีความแตกต่างกันตรงขนาดของพระพักตร์ เนื้อพระมีสีแดงคล้ายสีกระเบื้อง คือแดงอ่อน แดงแก่ และแดงปนน้ำตาล ไม่มีสีขาว ดำและเขียว เนื้อพระจะมีเม็ดทรายสีดำ ขาวแดงปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมาก แต่เป็นทรายเม็ดเล็กกว่าเม็ดทราย
ของพระขุนแผนหรือพระชุดกิมตึ๋ง และยังมี"พระขุนไกร" จากกรุอื่นๆอีกซึ่งเป็น" "พระขุนไกร พิมพ์ปรกโพธิ์ และอีกพิมพ์หนึ่งมีเส้นประภามณฑลรอบพระเศียร ซึ่งทั้งสองพิมพ์นี้เป็นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


สนใจขอรูปภาพเพิ่มเติม ติดต่อ Line id : eaw55
ผู้เข้าชม
21 ครั้ง
ราคา
7500
สถานะ
มาใหม่
ชื่อร้าน
เอี่ยว พชร
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
eaw555
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
160-2-604xx-x762-0-459xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
เปียโนJohnny amulet boonyakiatหริด์ เก้าแสนปั๊ก สารคามชา วานิช
ว.ศิลป์สยามpeemoneyNithipornเทพจิระchathanumaanabhirath.u
แมวดำ99Beerchang พระเครื่องsomemanภูมิ IRmaymymymay
เอี่ยวเสรีไทยน้ำตาลแดงKanamuletบ้านพระหลักร้อยบ้านพระสมเด็จทองธนบุรี
สยามพระเครื่องไทยkaew กจ.ศิษย์บูรพาปลั๊ก ปทุมธานีชาวานิชเจริญสุข

ผู้เข้าชมขณะนี้ 891 คน

เพิ่มข้อมูล

พระขุนไกร กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี (องค์นี้ขึ้นที่อยุธยา หายาก) สภาพสุดคลาสสิค




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระขุนไกร กรุวัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี (องค์นี้ขึ้นที่อยุธยา หายาก) สภาพสุดคลาสสิค
รายละเอียด
ขุนไกรเอกลักษณะประการหนึ่งของ พระเครื่องอันหลากหลายพิมพ์ทรง ที่ขุดพบได้ในเมืองสุพรรณบุรี ส่วนมากมีชื่อเสียงเรียกขานพิมพ์ทรงพระเครื่องนั้น ตามชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าๆที่เรียกขานชื่อพิมพ์ทรงพระเครื่องเมื่อครั้งพบพระใหม่ๆ นั้นดูเหมือนจะตั้งชื่อพระเครื่องในจังหวัดสุพรรณบุรีได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว แม้บางครั้งชื่อของพิมพ์ทรงพระ จะนำมาซึ่งความเชื่อความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปบ้าง โดยเฉพาะใน" พระขุนแผน" ที่เชื่อว่ามีพุทธคุณไปในแนวทางเดียวกับ "ขุนแผน" ในวรรณคดี ศิลปของพระขุนไกรน่าจะอยู่ในยุคอยุธยาตอนต้น พอๆกับพระขุนแผนหรืออาจเป็นการสร้างคราวเดียว
กันกับพระขุนแผนก็ได้ คาดว่ามีอายุอยู่ในราว 500 ปี เป็นอย่างสูง ส่วนในรายละเอียด "พระขุนไกร" มีดังนี้ "พระขุนไกร" อาจจะมีขนาดองค์พระที่ค่อนข้างใหญ่บ้าง กล่าวคือมีขนาดกว้างประมาณ 3.4 เซนติเมตรเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา มีความแกร่งและหนึกนุ่ม พุทธลักษณะด้านหน้า เป็นรูปองค์พระพุทธรูปปฏิมากรปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชรภายในเส้นมน ซึ่งเป็นเส้นซุ้มรอบองค์พระเครื่อง พระพักตร์องค์พระเรียวยาวลงมารับกับพระศอ(คอ) พระกรรณ(หู) ยาวสอบลงมาอยู่ในระดับพระศอ พระพาหา(แขน) ด้านขวาทอดยาวลงมาอ่อนช้อย จับที่พระชานุ(เข่า) ส่วนพระพาหาซ้าย ทิ้งลงมาแล้วหักศอก วางลงบนพระเพลา(ตัก) พระอังสา(บ่า) ผึ่งผายรับกับพระอุระ ส่วนพระเกศมีลักษณะคล้ายสถูปเจดีย์ ในด้านหลังองค์พระมีลักษณะอูมนูนเล็กน้อย พระขุนไกร วัดพระรูป สามารถแงพิมพ์ทรงได้ 2 แบบ คือ แบบหน้าเล็ก และแบบหน้าใหญ่ โดยมีความแตกต่างกันตรงขนาดของพระพักตร์ เนื้อพระมีสีแดงคล้ายสีกระเบื้อง คือแดงอ่อน แดงแก่ และแดงปนน้ำตาล ไม่มีสีขาว ดำและเขียว เนื้อพระจะมีเม็ดทรายสีดำ ขาวแดงปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมาก แต่เป็นทรายเม็ดเล็กกว่าเม็ดทราย
ของพระขุนแผนหรือพระชุดกิมตึ๋ง และยังมี"พระขุนไกร" จากกรุอื่นๆอีกซึ่งเป็น" "พระขุนไกร พิมพ์ปรกโพธิ์ และอีกพิมพ์หนึ่งมีเส้นประภามณฑลรอบพระเศียร ซึ่งทั้งสองพิมพ์นี้เป็นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


สนใจขอรูปภาพเพิ่มเติม ติดต่อ Line id : eaw55
ราคาปัจจุบัน
7500
จำนวนผู้เข้าชม
22 ครั้ง
สถานะ
มาใหม่
โดย
ชื่อร้าน
เอี่ยว พชร
URL
เบอร์โทรศัพท์
023775251
ID LINE
eaw555
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
3. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 160-2-604xx-x
4. ธนาคารกรุงไทย / 762-0-459xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี